คลังบทความของบล็อก

3/25/2557

วิสัยทัศน์และข้อมูลทั่วไป



ข้อมูลสภาพแวดล้อมทั่วไปของหน่วยบริการปฐมภูมิ

1. สภาพพื้นที่
          1.1 ลักษณะบริบทพื้นที่
ตำบลบ่อตรุเป็นพื้นที่ราบลุ่ม อยู่ริมชายฝั่งทะเลอ่าวไทย  ด้านตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มเหมาะกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการทำนา ซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมของคนบ่อตรุ แต่เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา คนบ่อตรุส่วนใหญ่หันมาประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งกุลาดำและกุ้งขาว เนื่องจากรายได้ดีและมีโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารรองรับ
          ด้วยสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบของพื้นที่ดังกล่าว จึงทำให้ตำบลบ่อตรุมีหลากหลายอาชีพทั้งทำนาประมงชายฝั่ง เลี้ยงกุ้ง รับจ้าง (ในโรงงานและรับจ้างเลี้ยงกุ้ง) และค้าขาย  ตำบลบ่อตรุ มี  5 หมู่บ้าน มีประชากรที่รับผิดชอบ  คน  จำนวน  หลังคาเรือน มีโรงเรียนประถมศึกษา 5 แห่ง วัด 3 แห่ง ศูนย์เด็กเล็ก 3 แห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อตรุตำบล 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อตรุ      
           โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อตรุ ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 2 ชุมชนบ่อสนพัฒนา ตำบลบ่อตรุ พื้นที่ตำบลบ่อตรุอยู่ในเขตการบริหารของเทศบาลตำบลบ่อตรุและองค์การบริหารส่วนตำบล วัดสน ซึ่งมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล กล้าคิด กล้าทำ  เข้าใจชุมชน ให้ความสำคัญต่อปัญหาสุขภาพของประชาชน  
บุคลากรที่ปฏิบัติงานประจำ จำนวน 7 คน คือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อตรุ 1 คน พยาบาลวิชาชีพ 1  คน นักวิชาการสาธารณสุข 3  คน เจ้าพนักงานสาธารณสุข  2  คน 
มีผู้รับบริการเฉลี่ย 18,752 คน / ปี 1,562 คน / เดือน และ 52 คน / วัน
ดำเนินการให้มีกองทุนหลักประกันสุขภาพ พื้นที่ เทศบาลตำบลบ่อตรุ เมื่อ     ปี 2552    
          จุดเด่น  :  ตำบลบ่อตรุ คือ เป็นแหล่งรายได้ มีอาชีพหลากหลาย ประชาชนไม่ว่างงาน     มีรายได้   
          จุดด้อย  :   ความร่วมมือจากประชาชนน้อย เนื่องจาก ต้องประกอบอาชีพ 

1.2 ที่ตั้ง ขนาดและอาณาเขต

          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด  จังหวัดสงขลา รับผิดชอบพื้นที่ จำนวน  5 หมู่บ้าน  มีอาณาเขตติดต่อ  ดังนี้
          - ทิศเหนือ        จด      ตำบลวัดสน อำเภอ ระโนด จังหวัดสงขลา
          - ทิศใต้           จด      ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
          - ทิศตะวันออก   จด      ทะเลอ่าวไทย   
- ทิศตะวันตก   จด      ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์  จังหวัดสงขลา

          1.3 ลักษณะภูมิประเทศ

          พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูกและที่ราบชายฝั่งทะเลอ่าวไทยด้านทิศตะวันออกเหมาะแก่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประมงชายฝั่ง

          1.4 ลักษณะภูมิอากาศ

          มีลักษณะอากาศเป็นแบบร้อนชื้น และแบบมรสุม มี 2 ฤดู คือฤดูร้อนและฤดูฝน อยู่ใกล้        ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย มีลมพัดผ่านตลอดปี  อากาศไม่ร้อนจัด มีฝนตกตลอด ตามฤดูกาล
          1.5 การคมนาคม
          การคมนาคมของประชาชนในการเดินทางระหว่างอำเภอ และระหว่างจังหวัด  ส่วนใหญ่เดินทางโดยรถโดยสารรับจ้างประจำทาง และรถยนต์รับจ้าง(ไม่ประจำทาง) โดยมีถนนสายหลัก  คือ  ระโนด - สงขลา  
การคมนาคมภายในอำเภอ(ระหว่างตำบล / หมู่บ้าน) ส่วนใหญ่เดินทางโดยรถยนต์รับจ้าง           (ไม่ประจำทาง) รถจักรยานยนต์รับจ้าง
การคมนาคมในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่จะเดินทางโดย รถจักรยานยนต์รับจ้าง /ส่วนบุคคล  โดยมีถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้าน 
          สำหรับการเดินทางของประชาชน จากหมู่บ้านเพื่อมารับบริการที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อตรุตำบลบ่อตรุ การคมนาคมสะดวก ใช้เวลาไม่มาก ส่วนใหญ่จะเดินทางโดย รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์รับจ้าง/ส่วนบุคคล  ระยะทางจาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อตรุ  ถึง

          - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  408 ระโนด สงขลา                       1     กิโลเมตร

          - โรงพยาบาลระโนด                                               30    กิโลเมตร
          - สำนักงานสาธารณสุขอำเภอระโนด                           32    กิโลเมตร
          - โรงพยาบาลสงขลา                                               68    กิโลเมตร
          - โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่                                       98    กิโลเมตร

          1.6 แหล่งน้ำ     ส่วนใหญ่ประชาชนใช้น้ำจากประปาเทศบาลบ่อตรุ ส่วนในพื้นที่หมู่ที่ 1 บางส่วนมีการใช้ประปาหมู่บ้านซึ่งมีจำนวน  1  แห่ง

1.7 ด้านวัฒนธรรมประเพณี

          ตำบลบ่อตรุมีวัฒนธรรมประเพณีสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ จนถึงปัจจุบัน ดังนี้         

          1. ประเพณีทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี

          2. ประเพณีทำบุญวันมาฆบูชา
3. ประเพณีทำบุญตักบาตรวันว่าง ( วันสงกรานต์  13 เมษายน )
          4. ประเพณีรดน้ำดำหัวขอพรผู้สูงอายุ ในสัปดาห์ผู้สูงอายุแห่งชาติ เดือนเมษายน ของทุกปี
5. ประเพณีทำบุญวันวิสาขบูชา
         6. ประเพณีทำบุญวันเข้าพรรษา
         7. ประเพณีทำบุญวันสารทเดือนสิบ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรดาญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งจะมีการทำบุญตักบาตรปีละ 2 ครั้ง  ในวันแรม  1  ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ  เดือนสิบของทุกปี 
         8. ประเพณีทำบุญลากพระ ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 หลังออกพรรษา มีกิจกรรมแห่เรือทรงพระทางบกและทางน้ำให้ชาวบ้านได้ร่วมทำบุญตักบาตรและแขวนขนมต้ม มีการประกวดเรือทรงพระ แข่งตีโพน แข่งทำขนมต้ม แข่งขบวนกลองยาวและแข่งเรือพาย 
          9. ประเพณีการทำบุญทอดกฐิน เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
          10. ประเพณีลอยกระทง ในวันขึ้น  15 ค่ำ  เดือน  12 ของทุกปี
          11. เดือนรอมฎอน (การถือศีลอดในศาสนาอิสลาม) ปีละ 1 ครั้ง